วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ลงพื้นที่ จังหวัด น่าน

จังหวัด  น่าน

   
                
  











ประวัติส่วนตัว

  

 ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาว จิตราภรณ์  สนิทบุญ   ชื่อเล่น  มุก

 เรียน มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์  ในพระบอรมราชูปถัมภ์

คณะ มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์   เอก การพัฒนาชุมชน ปีที่ 2

เกิดวันที่ 10 ธันวาคม  พ.ศ 2535    อายุ 19 ปี

มีพี่น้อง2 คน  ชอบสี เขียว  อาหาร กินได้ทุกอย่าง

                                                                                  

ความสำคัญของการพัฒนาชุมชน

ความสำคัญของการพัฒนาชุมชน

เป้าหมายของการพัฒนาชุมชน คือคน ซึ่งเป็นกลุ่มอันหลากหลาย กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ   เป็นหมู่บ้าน เป็นชุมชนเมือง เป้นกลุ่มอาชีพ เป็นกลุ่มกิจกรรม ฯลฯ   กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้เป็นรากฐานสำคัญของประเทศ   เราเห็นพ้องกันว่าการพัฒนาคน เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศที่ถูกต้อง   การพัฒนาคนจึงเป็นเป้าหมายของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐๒๕๔๔) และต่อใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙(พ.ศ. ๒๕๔๕๒๕๔๙)   รากฐานของประเทศดีขึ้น เจริญขึ้นในทุก ๆ ด้าน   ประเทศชาติก็ดีขึ้น เจริญขึ้น เป็นสังคมพัฒนา   สังคมพัฒนาดี สมาชิกในสังคมย่อมได้รับผลพวงของการพัฒนา ทุกอย่างมันเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน   การเล็งเป้าการพัฒนาไปที่คน ก็คือการเล็งเป้าไปที่ชุมชน จึงเป็นภารกิจของทุกคนที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องร่วมมือกันพัฒนาอย่างจริงจัง รวมทั้งต้องพัฒนาคนเองด้วย เหมือนตนเองเป็นชุมชนหนึ่ง   องค์กรทั้งหลายก็ต้องพัฒนาตนเองเช่นเดียวกัน เพราะองค์กรก็มีความเป็นชุมชนด้วย   ถ้าเราจินตนาการว่าคนเหมือนเซล (cell) ของประเทศ (ร่างกาย)   เซลทุกเซลได้รับการเอาใจใส่ดูแลให้ดี ทำให้พัฒนา   ประเทศชาติหรือสังคมไทยเราจะเป็นอย่างไร ลองจินตนาการต่อไป   เพราะฉะนั้น เป้าหมายของประเทศ หรือสังคม จึงต้องพัฒนาคนหรือชุมชน 

ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท





ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท
สังคมเมืองกับสังคมชนบท มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต้องพึ่งพาอาศัยกัน สังคมชนบทผลิตและส่งอาหาร ตลอดทั้งผลิตผลทางการเกษตรให้แก่สังคมเมือง รวมทั้งขายแรงงานให้แก่สังคมเมือง ในขณะเดียวกัน สังคมเมืองก็เป็นตลาดขายผลิตผลทางการเกษตรเป็นแหล่งผลิตทางอุตสาหกรรม ส่งผลิตผลทางอุตสาหกรรมขายให้แก่สังคมชนบท เป็นแหล่งความรู้ทางเทคโนโลยีให้แก่สังคมชนบท เป็นต้น

สังคมของเมืองไทย

สังคมของเมืองไทย
สังคมเมืองมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น มีการปกครองแบบเทศบาล บางแห่งมีการปกครองโดยเฉพาะ เช่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา สังคมเมืองมีความเจริญทางด้านวัตถุ เป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข ฯลฯ


ลักษณะและโครงสร้างของสังคมเมืองไทย
1. พึ่งพาอาศัยกัน สังคมเมืองจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปด้วยกันเหมือนเครื่องจักร หากสิ่งใดหยุดชะงักสังคมเมืองจะประสบความยุ่งยากทันที


2. มีการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ สมาชิกของสังคมเมืองมีแบบแผน วิถีดำเนินชีวิตในแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิด ความเชื่อ ศาสนา และประสบการณ์ เพราะสมาชิกมาจากแหล่งต่าง ๆ กัน

3. มีลักษณะความแตกต่างทางเศรษฐกิจสูง คือ สังคมเมืองมีทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง มีคนที่ประกอบอาชีพที่หลากหลาย เช่น พ่อค้า ข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้มีระดับความแตกต่างของสมาชิกทางเศรษฐกิจสูง
.4. การติดต่อสัมพันธ์กันมีลักษณะแบบทุติยภูมิ ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในสังคมเมืองมีมาก จึงมีการติดต่อกันตามสถานภาพ มากกว่าการติดต่อกันเป็นส่วนตัว หรือแบบปฐมภูมิ
5. การรวมกลุ่มเป็นองค์กรเป็นไปในรูปแบบทางการ คือเป็นการคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองหรือของ กลุ่มตนเองมากที่สุด
6. มีการแข่งขันกันสูง คือสังคมเมือง ผู้คนจะมีการแข่งขันกันสูง เป็นการแข่งขันเพื่อชัยชนะคู่แข่ง หรือเพื่อความอยู่รอดในสังคม คนในสังคมเมืองจึงเป็นโรคประสาทมากเมื่อเปรียบเทียบกับชาวชนบท



สังคมชนบทของไทย

สังคมชนบทของไทย
 มีการรวมตัวกันอยู่เป็นชุมชนเล็ก ๆ เป็นการรวมตัวกันเป็นหมู่บ้าน ตำบล กระจัดกระจายไปทั่วประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่ของสังคมไทยอาศัยอยู่ในชนบท

ลักษณะและโครงสร้างของสังคมชนบทของไทย
1. มีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น ทั้งนี้เพราะสังคมชนบทไทยมีความคล้ายคลึงกันของแบบแผนสังคมและ แบบแผน ของ วัฒนธรรมขั้นพื้นฐาน สภาพความเป็นอยู่มีความคล้ายคลึงกันเป็นอันมาก การรวมตัวของสังคมชนบทจึงเป็นการรวมตัวอย่างเหนียวแน่น

2. มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมไม่แตกต่างกันมาก ชาวชนบทส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม แบบแผนของสังคมเป็นแบบแผนสังคมเกษตร พื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมจึงไม่แตกต่างกันมาก

3. พึ่งธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเป็นใหญ่ ชีวิตของชาวชนบทผูกพันอยู่กับธรรมชาติ ทั้งอาชีพและความเป็นอยู่ ความทุกข์ มีผลจากภัยธรรมชาติ คือความแห้งแล้งน้ำท่วม และความหนาวเย็น หากปีใดไม่มีภัยธรรมชาติประกอบอาชีพได้ผลดี จะมีความสุข

4. การรวมกลุ่มของคนชนบทอยู่ในวงจำกัด และมีลักษณะไม่เป็นทางการ สังคมชนบทจะรู้จักหน้าค่าตากันดี มีการติดต่อสัมพันธ์กันเป็นส่วนตัวในลักษณะกลุ่มปฐมภูมิมากกว่าสัมพันธ์ กันใน ลักษณะกลุ่มทุติยภูมิ

5. มีการแข่งขันกันน้อย ผู้คนในสังคมชนบท มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาโดยตลอด ประกอบอาชีพคล้ายคลึงกัน ร่วมสุขร่วมทุกข์เผชิญภัยธรรมชาติมาด้วยกัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน มีความเคารพนับถือกันมาโดยตลอด ระบบการแข่งขันจึงมีน้อย

หลักสำคัญของความพอดีมี 5 ประการ



 หลักสำคัญของความพอดีมี  5  ประการ  
ความพอดีด้านจิตใจ   :   ต้องเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร  ประณีประนอม  นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
      ความพอดีด้านสังคม   :   ต้องมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  สร้างความเข็มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคง และแข็งแรง
    ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   :   รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ  เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด  และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ  เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป
     ความพอดีด้านเทคโนโลยี   :   รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองและสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง                                            

      ความพอดีด้านเศรษฐกิจ   :    เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกิน สมควรตามอัตตภาพ และฐานะของตน

ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ


 ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย  3  คุณลักษณะ 

ความพอประมาณ   หมายถึง   ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป     โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่น  การผลิตและการบริโภคอยู่ในระดับพอประมาณ
                  -   ความมีเหตุผล
   หมายถึง   การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
                  -   การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
   หมายถึง   การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ  และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล





                                         มาจาก http://www.oknation.net/blog/itthipon/2009/06/30/entry-1

เศรษฐกิจพอเพียง



เศรษฐกิจพอเพียง

   เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้ถึงแนวทางการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกระดับ ไม่ว่าจะในระดับครอบครัว  ชุมชน  หรือ  รัฐ  ในการปฏิบัติงานหรือบริหารพัฒนาประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง  มีความพอประมาณ  ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาท  มีเหตุผล  และสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบต่าง ๆ        อันอาจจะเกิดขึ้นจากภายนอกและภายในอย่างรอบคอบ   ในขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนให้มีความสำนึกในคุณธรรม   ความซื่อสัตย์   และความรอบรู้ที่เหมาะสม การดำเนินชีวิตควรใช้ความอดทน  ความเพียร  มีสติปัญญา  พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อม  และวัฒนธรรมโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี       การดำรงชีวิตและปฏิบัติตนมุ่งเน้นการอยู่รอดปลอดภัย   และวิกฤต  สร้างความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา


                        มาจาก http://www.oknation.net/blog/itthipon/2009/06/30/entry-1


6.  ความหมายทางการวางแผน 
          ในทางการวางแผน  การพัฒนา  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการชักชวน  การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ด้วยการปฏิบัติตามแผนและโครงการอย่างจริงจัง  เป็นไปตามลำดับขั้นตอนต่อเนื่องกันเป็นวงจร  โดยไม่มีการสิ้นสุด    ซึ่งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ                                      เมื่อ     D        =        Development  คือ  การพัฒนา
                             P        =        Planning  คือ  การวางแผน
                             M       =        Management  คือ  การบริหารงานหรือการจัดการ

การพัฒนาคือ



การพัฒนา 
ที่เข้าใจโดยทั่วไป  มีความหมายใกล้เคียงกับความหมายจากรูปศัพท์ คือ หมายถึง  การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งที่ดีกว่าเดิมอย่างเป็นระบบ  หรือการทำให้ดีขึ้นกว่าสภาพเดิมที่เป็นอยู่อย่างเป็นระบบ  (ยุวัฒน์  วุฒิเมธี.  2526, หน้า  1)  ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบทางด้านคุณภาพระหว่างสภาพการณ์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงเวลาที่ต่างกัน  กล่าวคือ  ถ้าในปัจจุบันสภาพการณ์ของสิ่งนั้นดีกว่า  สมบูรณ์กว่าก็แสดงว่าเป็นการพัฒนา 

ชุมชนมีกี่รูปแบบ



ชุมชน หมายถึง การที่คนจำนวนหนึ่งมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน มี

ความพยายามทำอะไรร่วมกัน มีการเรียนรู้ร่วมกันในการกระทำ ซึ่งรวมถึงการติดต่อสื่อสารกัน (communicate) ความเป็นชุมชน

อยู่ที่ความร่วมกัน ความเป็นชุมชนอาจเกิดขึ้นในสถานที่และสถานการณ์ต่างๆ กัน เช่น         

                1. มีความเป็นชุมชนในครอบครัว
                2. มีความเป็นชุมชนในที่ทำงาน
                3. มีความเป็นชุมชนวิชาการ (academic community)
                4. มีความเป็นชุมชนสงฆ์
             5. มีความเป็นชุมชนทางอากาศ เนื่องจากรวมตัวกันโดยใช้วิทยุติดต่อสื่อสารกัน
             6. มีความเป็นชุมชนทางอินเตอร์เนต (Internet) เป็นต้น

กลุ่มชุมชน

      กลุ่มชุมชน

“ ชุมชน” (Community) คือ ดินแดนแห่งการรวมตัวทางสังคมที่เป็น การสมัครใจก่อขึ้นเองโดยประชาชน ส่วนใหญ่แล้ว

สนับสนุนตนเองเป็นเอกเทศ จากรัฐและอยู่ในกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น Community ประกอบด้วยองค์กรต่างๆ ทั้งทางการและไม่

เป็นทางการ รวมถึง กลุ่มความสนใจ (ชมรม) กลุ่มวัฒนธรรม และศาสนา สมาคมอนุรักษ์หรือพัฒนาสังคม/