วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สังคมชนบทของไทย

สังคมชนบทของไทย
 มีการรวมตัวกันอยู่เป็นชุมชนเล็ก ๆ เป็นการรวมตัวกันเป็นหมู่บ้าน ตำบล กระจัดกระจายไปทั่วประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่ของสังคมไทยอาศัยอยู่ในชนบท

ลักษณะและโครงสร้างของสังคมชนบทของไทย
1. มีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น ทั้งนี้เพราะสังคมชนบทไทยมีความคล้ายคลึงกันของแบบแผนสังคมและ แบบแผน ของ วัฒนธรรมขั้นพื้นฐาน สภาพความเป็นอยู่มีความคล้ายคลึงกันเป็นอันมาก การรวมตัวของสังคมชนบทจึงเป็นการรวมตัวอย่างเหนียวแน่น

2. มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมไม่แตกต่างกันมาก ชาวชนบทส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม แบบแผนของสังคมเป็นแบบแผนสังคมเกษตร พื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมจึงไม่แตกต่างกันมาก

3. พึ่งธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเป็นใหญ่ ชีวิตของชาวชนบทผูกพันอยู่กับธรรมชาติ ทั้งอาชีพและความเป็นอยู่ ความทุกข์ มีผลจากภัยธรรมชาติ คือความแห้งแล้งน้ำท่วม และความหนาวเย็น หากปีใดไม่มีภัยธรรมชาติประกอบอาชีพได้ผลดี จะมีความสุข

4. การรวมกลุ่มของคนชนบทอยู่ในวงจำกัด และมีลักษณะไม่เป็นทางการ สังคมชนบทจะรู้จักหน้าค่าตากันดี มีการติดต่อสัมพันธ์กันเป็นส่วนตัวในลักษณะกลุ่มปฐมภูมิมากกว่าสัมพันธ์ กันใน ลักษณะกลุ่มทุติยภูมิ

5. มีการแข่งขันกันน้อย ผู้คนในสังคมชนบท มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาโดยตลอด ประกอบอาชีพคล้ายคลึงกัน ร่วมสุขร่วมทุกข์เผชิญภัยธรรมชาติมาด้วยกัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน มีความเคารพนับถือกันมาโดยตลอด ระบบการแข่งขันจึงมีน้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น